ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ

ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ

1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้าเพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไรในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณ์
ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้

2.สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว

3.ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด

4.ร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริงตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่เพื่อให้ได้สินค้าที่มคุณภาพและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค

5.ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้าหรือบริการต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่นๆของตัวสินค้าหรือบริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณาเนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต

วิธีทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อของอีกเรื่อยๆ

ความจริงก็คือค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการขายให้กับลูกค้าเดิมมากถึง 5-8 เท่า และกำไรจะเกิดขึ้นก็เมื่อลูกค้าซื้อครั้งที่สอง สาม หรือสี่ ดังนั้นเราต้องกำหนดออกมาเลยว่าการจะ “ซื้อ” ลูกค้าใหม่ให้ธุรกิจต้องใช้เงินเท่าไร การซื้อที่ว่าคือการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา การทำการตลาด หรือการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าหน้าใหม่มาซื้อสินค้าหรือบริการจากเรา การมองแบบระยะยาวสำคัญมาก เมื่อเราเห็นมูลค่าระยะยาวของลูกค้า เราก็จะให้ความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขามากขึ้น การวางแผนเพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาหาธุรกิจของเราเรื่อยๆ นั้นหัวใจหลักก็อยู่ที่ความสุขของลูกค้านั่นเอง และนี่คือ 5 วิธีการทำให้เกิดการซื้อซ้ำ

1.ขยันให้ข้อมูล ข้อมูลคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท อย่าแค่ไปเก็บข้อมูลเพื่อนำเข้าแฟ้มเฉยๆ แต่ให้เอามาวิเคราะห์และประมวลผล หาทุกโอกาสที่สามารถทำได้เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ธุรกิจ

2.สื่อสารหาลูกค้าเรื่อยๆ และทำให้น่าสนใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่าขาดการติดต่อเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ หรือ วันเกิดของลูกค้า เราสามารถใช้โอกาสเหล่านี้ติดต่อไปยังลูกค้าเพื่ออวยพรหรือเสนอโปรโมชั่น พิเศษ ต้องคอยเตือนให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาเป็นลูกค้าคนพิเศษของเราอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ลูกค้านึกถึงเราและเลือกซื้อสินค้าจากเราเป็นแบรนด์แรกๆ

3.ทำให้ลูกค้าซื้อได้อย่างสะดวก และซื้อได้เรื่อยๆ ลองทำตัวเป็นลูกค้าแล้วทดลองใช้สินค้าหรือบริการตามช่องทางปกติเพื่อดูว่ามี อุปสรรคอะไรในการซื้อหรือไม่ ลองคิดว่าหากเราเป็นลูกค้า เราอยากให้เปลี่ยนอะไรบ้าง หรืออาจลองถามลูกค้าเลยก็ได้เพื่อดูว่าจะการซื้อขายให้ง่ายขึ้นได้อย่างไร

4.สัญญาแล้วทำให้ได้ คำสัญญาหรือการเสนอโปรโมชั่นใดควรทำให้ได้จริง ธุรกิจของเราจะต้องดำเนินไปอย่างที่เคยประกาศไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เช่น บอกว่าสะสมแต้มครบแล้วจะได้ของสมนาคุณ ก็ต้องมีของให้กับลูกค้าจริงๆ สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะสะสมเป็นความรู้สึกของลูกค้าต่อธุรกิจของเราในที่สุด กฎก็คือ สัญญาน้อยๆ เข้าไว้ แต่เมื่อถึงเวลาให้จึงค่อยให้มากๆ ลูกค้าจะประทับใจแน่นอน

5.ทดลองและวัดผลทุกอย่าง ทำการทดลองและวัดผลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาหรือการทำการตลาดต่างๆ ตัวเลขสถิติเหล่านั้นต้องนำมาคำนวณเพื่อวัดประสิทธิภาพสิ่งที่ทำไปให้ได้ เพราะเมื่อเรารู้ค่า ROI (ค่าตอบแทนจากการลงทุน) เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าแผนการตลาดนั้นคุ้มค่าเงินที่ลงไปหรือไม่ หากไม่คุ้ม เราจะได้ไหวตัวและแก้เกมได้ทันนั่นเอง

ท้ายที่สุดแล้วคนเราก็เลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจที่ชอบ และภักดีกับแบรนด์ที่รู้สึกดีหรือผูกพันด้วย คนจำนวนมากยินดีจ่ายมากกว่าเพื่อสิ่งของหรือบริการที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นการแข่งขันเรื่องราคาจึงไม่ใช่คำตอบเสมอไป อย่าลืมหาวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจของเราและลูกค้าอยู่เสมอ เพราะคงไม่มีใครอยากเสียลูกค้าให้คู่แข่งอย่างแน่นอน ไม่แม้เพียงคนเดียวก็ตาม