วิศวกรรมอาหารมีความเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยผลผลิตการเกษตร

จนได้สมญาว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก ซึ่งผลผลิตเกษตรในรูปแบบที่ยังไม่ผ่านการแปรสภาพนั้นมีมูลค่าต่ำและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาการสูญเสีย ทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตเกษตรได้มหาศาล อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารมีความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการอาหาร โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกลและกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อสามารถพัฒนาระบบการผลิตให้เหมาะกับยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ

การผลิตในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพการผลิต และการเพิ่มมูลคุณค่าของสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคลากรวิศวกรด้านนี้เป็นอย่างมาก เป็นสาขาที่ประยุกต์ศาสตร์ด้านวิศวกรรมมาใช้กับงานทางการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และอาหาร

ลักษณะการทำงานของวิศวกรอาหาร

คือ การวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตทางเคมี รวมถึงวิจัยและพัฒนา ค้นหาผลิตภัณฑ์อาหารและกระบวนการผลิตชนิดใหม่ คำนวณและออกแบบกรรมวิธีการผลิต เครื่องจักร และอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเคมี เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ตลอดจนคำนวณและออกแบบระบบและมาตรการความปลอดภัย และการกำจัดของเสีย ทั้งในการผลิต การใช้ การเก็บ การขนส่ง/เคลื่อนย้าย และการป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหาร

หน้าที่หลักในการปฏิบัติงาน

1.จัดหาเครื่องจักรและออกแบบสายการผลิตเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารในราคาประหยัด และมีประสิทธิภาพสูง
2.ออกแบบระบบการผลิต และเครื่องจักรใหม่ๆให้มีราคาเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
3.ควบคุมดูแลบุคลากรในสายการผลิตให้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเต็มศักยภาพ
4.ดูแลควบคุมสายงานการผลิตและการบรรจุอาหาร และหรือเครื่องดื่มให้เป็นไปตามแผนการผลิตที่วางไว้
5.ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาระหว่างการผลิต ตลอดทั้งควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์
6.วางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
7.ควบคุมดูแลป้องกันมลพิษที่เกิดจากการผลิตทั้งในและนอกโรงงาน
8.ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายและประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วิศวกรรมการผลิตพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

วิศวกรรมการผลิตเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานและสินค้าในเชิงอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและพัฒนา การทดสอบผลิต การออกแบบกรรมวิธีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ การควบคุมเครื่องจักร การควบคุมการผลิต การประกอบ การควบคุมคุณภาพ จนได้เป็นสินค้าสำเร็จ ตลอดถึงการประเมินประสิทธิภาพการผลิต สามารถประกอบวิชาชีพได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมการผลิตจะต้องเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการความรู้ของศาสตร์ทางด้านกรรมวิธีการผลิต การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ระบบควบคุมอัตโนมัติ การบริหารการผลิต และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ได้เป็นอย่างดี


กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้  ความสามารถด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต  การควบคุมการผลิต  การควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการบริหารงานอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้าน อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลและกระบวนการผลิตอัตโนมัติ  เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดและสามารถแข่งขันได้ใน เชิงธุรกิจ  หรืออาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรรมสมัยใหม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อรองรับการพัฒนาของระบบการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ดังนั้นความสำคัญในการพัฒนาระบบการผลิตทางอุตสากรรมของประเทศให้ทันสมัยจึงได้ดำเนินการจัดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  โดยมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเป็นภาควิชาที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับระดับชาติ และระดับนานาชาติทางด้านการศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มีปณิธานที่มุ่งมั่นให้การศึกษาและสนับสนุนการวิจัยระดับสูง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักศึกษาและสังคมอย่างมีประสิทิภาพ และมีปรัชญาของหลักสูตร คือ “การศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ

อุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ วิศวกรรมอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรสาขานี้จึงยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของโรงงานต่างๆ และการพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต และการวิจัยและวางแผนพัฒนา เพื่อลดเวลา และต้นทุน

งานวิศวกรรมเป็นงานที่มักจะเกี่ยวข้องอยู่กับการวิจัยและพัฒนางาน

ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เติบโตเร็วตามไปด้วย สาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์จึงได้กลายเป็นสาขาที่มีอนาคตสดใสและดีที่สุดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต

ปัจจุบันนี้ หนึ่งในสาขาที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ วิศวกรรมนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของความรู้ในหลากหลายสาขา เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ ยารักษาโรค เป็นต้น และอีกทางหนึ่งก็มีการคาดเดาว่าความต้องการของผู้เชี่ยวชาญด้านชีวการแพทย์ (biomedical) นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 72% ในปี 2018

งานวิศวกรรมจึงเป็นงานที่มักจะเกี่ยวข้องอยู่กับการวิจัยและพัฒนางาน โดยการประยุกต์นำเอาความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้ในการวางแผน ออกแบบ จัดสร้าง ดำเนินงาน และซ่อมบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์รวมทั้งระบบการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากขึ้นและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเป้าประสงค์ในการที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่านั้น งานวิศวกรรมจึงจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่เสมอ

โดยทั่วไปงานทางด้านวิศวกรรมจะถูกจำแนกออกเป็นสาขาต่างๆตามลักษณะงานที่แตกต่างกันไป ที่เห็นได้อยู่ทั่วไปมักจะเป็นสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิศวกรรมเฉพาะด้านลงไปที่ก็มีให้เห็นอยู่เช่นกัน อันได้แก่ สาขาวิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมปิโตรเลี่ยม เป็นต้น โดยส่วนใหญ่วิศวกรมักจะประกอบอาชีพอยู่ในภาคการผลิต ส่วนงานในภาคบริการและงานภาครัฐก็จะได้รับความนิยมรองๆลงมา

ในสหรัฐอเมริกาได้มีงานวิจัยหลายๆงานที่ศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของวิศวกรในการทำงาน งานวิจัยเหล่านี้ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกันประการหนึ่งเกี่ยวกับการทำงานของวิศวกรว่า วิศวกรไม่ว่าจะเป็นสาขาใดก็มักจะต้องมีบทบาทในงานด้านการจัดการอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย โดยผลการศึกษาของ The Engineering Manpower Commission แสดงออกมาว่า ร้อยละ 82 ของวิศวกรในประเทศสหรัฐอเมริกาต่างมีความรับผิดชอบในงานด้านการจัดการอยู่ด้วย ส่วนงานวิจัยโดยการสำรวจของ A Carnegie Foundation พบว่ามากกว่า ร้อยละ 60 ของผู้ที่จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์มาจะได้เลื่อนไปทำงานในตำแหน่งผู้จัดการภายใน 15 ปี และบางงานวิจัยมีการระบุว่า ร้อยละ 40 ของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม และร้อยละ 34 ของผู้จัดการระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกาต่างมีพื้นฐานในการศึกษาหรือการทำงานด้านวิศวกรรมมาก่อน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการทำงานในสายงานด้านวิศวกรรมนั้น วิศวกรจำเป็นจะต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการอยู่ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิศวกรผู้นั้นได้รับการเลื่อนขั้นพัฒนาไปสู่ระดับผู้บริหาร ทักษะที่จำเป็นด้านการจัดการจะมีส่วนในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การบำบัดน้ำเสีย การควบคุมมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นควบคู่กัน และยังช่วยดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่กับเราได้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ต้องนำความรู้ทั้งทางด้านวิศวกรรมและด้านระบบสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันกระแสด้านสิ่งแวดล้อมมาแรงมาก สาขาในด้านวิศวะที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ วิศวกรรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบและควบคุมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความยากและท้าทายกว่าในอดีตที่ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นยังมีปริมาณไม่มากและไม่เป็นปัญหาสำหรับการจัดการ การศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ ก่อสร้าง ควบคุมดูแลระบบเพื่อแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง ขยะ สารพิษอันตราย รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับ ระบบประปา ระบบท่อภายในอาคาร งานสุขาภิบาล งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

environmental-engineer

ปัจจุบันนี้กระแสในด้านสิ่งแวดล้อมมาแรงมากมาก สาขาในด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ วิศวกรรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบและควบคุมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบบำบัดมลพิษอากาศ ซึ่งมีความยากและท้าทายกว่าในอดีตที่ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นยังมีปริมาณไม่มากและไม่เป็นปัญหาสำหรับการจัดการ

นอกจากนั้นแล้ว ยังศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของ GHG (Green House Gas) ต่อชั้นบรรยากาศ แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก ศึกษาการสร้างพลังงานทางเลือกใหม่จากของเสีย หรือที่เรียกว่าก๊าซชีวภาพ (Bio gas) การจัดการของเสียอุตสาหกรรม การทำ CDM , CT พวกนี้ล้วนเป็นงานของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น นอกจากนี้สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ยังเป็น 1 ใน 7 วิชาชีพวิศวกรรม ที่ได้รับใบ กว. หรือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งได้รับการรับรองปริญญาหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากสภาวิศวกรด้วย โดยใบ กว. ทางด้านวิศวะ ก็คล้ายกับใบประกอบวิชาวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สถาปัตยกรรม เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ โดยทางสภาวิศวกรจะพิจารณาออกใบ กว. ให้กับสาขาด้านวิศวกรรมที่เมื่อประกอบวิชาชีพนี้แล้วจะเสี่ยงหรือมีผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างร้ายแรง ประกอบด้วย โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เหมืองแร่ อุตสาหการ เคมี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงคนที่จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาโดยตรงค่ะ จะทำเนียนโดยที่ไม่ได้เรียนแล้วมาทำอาชีพนี้ไม่ได้เด็ดขาดเพราะผิดกฎหมาย ฉะนั้นแล้ว ถ้ามาเรียนสาขานี้รับรองว่าจะไม่ถูกแย่งงานแน่นอนค่ะ ^ ^

ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ

ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ

1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้าเพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไรในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณ์
ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้

2.สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว

3.ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด

4.ร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริงตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่เพื่อให้ได้สินค้าที่มคุณภาพและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค

5.ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้าหรือบริการต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่นๆของตัวสินค้าหรือบริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณาเนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต

วิธีทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อของอีกเรื่อยๆ

ความจริงก็คือค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการขายให้กับลูกค้าเดิมมากถึง 5-8 เท่า และกำไรจะเกิดขึ้นก็เมื่อลูกค้าซื้อครั้งที่สอง สาม หรือสี่ ดังนั้นเราต้องกำหนดออกมาเลยว่าการจะ “ซื้อ” ลูกค้าใหม่ให้ธุรกิจต้องใช้เงินเท่าไร การซื้อที่ว่าคือการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา การทำการตลาด หรือการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ลูกค้าหน้าใหม่มาซื้อสินค้าหรือบริการจากเรา การมองแบบระยะยาวสำคัญมาก เมื่อเราเห็นมูลค่าระยะยาวของลูกค้า เราก็จะให้ความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขามากขึ้น การวางแผนเพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาหาธุรกิจของเราเรื่อยๆ นั้นหัวใจหลักก็อยู่ที่ความสุขของลูกค้านั่นเอง และนี่คือ 5 วิธีการทำให้เกิดการซื้อซ้ำ

1.ขยันให้ข้อมูล ข้อมูลคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท อย่าแค่ไปเก็บข้อมูลเพื่อนำเข้าแฟ้มเฉยๆ แต่ให้เอามาวิเคราะห์และประมวลผล หาทุกโอกาสที่สามารถทำได้เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ธุรกิจ

2.สื่อสารหาลูกค้าเรื่อยๆ และทำให้น่าสนใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น อย่าขาดการติดต่อเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันวาเลนไทน์ หรือ วันเกิดของลูกค้า เราสามารถใช้โอกาสเหล่านี้ติดต่อไปยังลูกค้าเพื่ออวยพรหรือเสนอโปรโมชั่น พิเศษ ต้องคอยเตือนให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาเป็นลูกค้าคนพิเศษของเราอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ลูกค้านึกถึงเราและเลือกซื้อสินค้าจากเราเป็นแบรนด์แรกๆ

3.ทำให้ลูกค้าซื้อได้อย่างสะดวก และซื้อได้เรื่อยๆ ลองทำตัวเป็นลูกค้าแล้วทดลองใช้สินค้าหรือบริการตามช่องทางปกติเพื่อดูว่ามี อุปสรรคอะไรในการซื้อหรือไม่ ลองคิดว่าหากเราเป็นลูกค้า เราอยากให้เปลี่ยนอะไรบ้าง หรืออาจลองถามลูกค้าเลยก็ได้เพื่อดูว่าจะการซื้อขายให้ง่ายขึ้นได้อย่างไร

4.สัญญาแล้วทำให้ได้ คำสัญญาหรือการเสนอโปรโมชั่นใดควรทำให้ได้จริง ธุรกิจของเราจะต้องดำเนินไปอย่างที่เคยประกาศไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เช่น บอกว่าสะสมแต้มครบแล้วจะได้ของสมนาคุณ ก็ต้องมีของให้กับลูกค้าจริงๆ สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้จะสะสมเป็นความรู้สึกของลูกค้าต่อธุรกิจของเราในที่สุด กฎก็คือ สัญญาน้อยๆ เข้าไว้ แต่เมื่อถึงเวลาให้จึงค่อยให้มากๆ ลูกค้าจะประทับใจแน่นอน

5.ทดลองและวัดผลทุกอย่าง ทำการทดลองและวัดผลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาหรือการทำการตลาดต่างๆ ตัวเลขสถิติเหล่านั้นต้องนำมาคำนวณเพื่อวัดประสิทธิภาพสิ่งที่ทำไปให้ได้ เพราะเมื่อเรารู้ค่า ROI (ค่าตอบแทนจากการลงทุน) เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าแผนการตลาดนั้นคุ้มค่าเงินที่ลงไปหรือไม่ หากไม่คุ้ม เราจะได้ไหวตัวและแก้เกมได้ทันนั่นเอง

ท้ายที่สุดแล้วคนเราก็เลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจที่ชอบ และภักดีกับแบรนด์ที่รู้สึกดีหรือผูกพันด้วย คนจำนวนมากยินดีจ่ายมากกว่าเพื่อสิ่งของหรือบริการที่ดีกว่า เพราะฉะนั้นการแข่งขันเรื่องราคาจึงไม่ใช่คำตอบเสมอไป อย่าลืมหาวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจของเราและลูกค้าอยู่เสมอ เพราะคงไม่มีใครอยากเสียลูกค้าให้คู่แข่งอย่างแน่นอน ไม่แม้เพียงคนเดียวก็ตาม