การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของทางด้านวิศวกรรมในเชิงอุตสาหกรรม

การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีด้วยกันหลายทาง งานวิจัยเป็นอีกแนวทางหนึ่งและถือได้ว่าเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่งานวิจัยในเมืองไทยจะเน้นหนักไปทางงานวิจัยซึ่งต้องอาศัยการทดลองและปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้ชิ้นงานออกมา งานวิจัยประเภทนี้จำต้องอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่มากมายหลายชนิด  แต่งานวิจัยอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือ การวิเคราะห์และควบคุมระบบ โดยอาศัยการสร้างแบบจำลองหรือโมเดล โดยอาศัยการคำนวณจากสมการคณิตศาสตร์เพื่อ คิดวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์ “งานวิจัยที่ทำส่วนใหญ่ เน้นทางด้านวิศวกรรมระบบและการควบคุมกระบวนการซึ่ง จะมีสองสาม Topic คือการพัฒนาแบบจำลอง แล้วก็ การจำลองกระบวนการ วิธีการจะต่างกับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นนิดหนึ่งที่เขาอาจจะเน้นในส่วนของการทดลอง ที่ทดลองกับสารเคมีจริง อุปกรณ์จริง แต่ของเราเน้นที่แบบจำลอง แล้วเอาแบบจำลองที่ได้มาคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นตัวช่วยในการคำนวณ อีกส่วนหนึ่งก็คือการหาสภาวะที่เหมาะสมในการดำเนินงาน ของกระบวนการ”

ในเชิงอุตสาหกรรมที่ต้องวัดด้วยความคุ้มทุนและผลกำไรนั้นการประสบความล้มเหลวอันเนื่องมาจาการผลิตย่อมส่งผลกระทบให้เป็นอย่างมาก เพราะอาจจะต้องประสบกับภาวะการขาดทุนนั้นย่อมหมายถึงการสูญเสียเม็ดเงินเป็นจำนวนมากทั้งยังเสียเวลา การทำการวิจัยโดยอาศัยแบบจำลองขึ้นมาจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมาก เพราะไม่ต้องทุ่มทรัพยากรในการผลิตลงไปในทุกขั้นตอน แต่เป็นการศึกษาและเตรียมความพร้อมซึ่งสามารถลดอัตราการเสี่ยงได้เป็นอย่างดี การสร้างแบบจำลองมีประโยชน์ในแง่ของการเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ แทนที่เราจะต้องไปทำการทดลองทั้งหมดที่ต้องการจะศึกษาเราก็จำลองมันขึ้นมาก่อน ลองวิเคราะห์กระบวนการในสภาวะที่เราต้องการแล้วดูแล้วถ้ามันโอเค ก็อาจจะนำไปพิสูจน์หรือปรับเปลี่ยนไปใช้ในการทดลองอีกทีหนึ่ง มันก็จะสามารถลดขั้นตอนในการทดลอง ลดค่าใช้จ่ายในการทดลองไปได้ ลดสารเคมีลดของเสียที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย อันนี้จะเป็นส่วนของการพัฒนาระบบการทดลอง และแบบจำลองของกระบวนการ ”

ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยสินค้าและบริการเชิงคุณภาพ

ความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คือความพยายามของเราที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไม่ประนีประนอมความสามารถของคนรุ่นอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง เทคโนโลยีใหม่จะต้องให้แน่ใจว่าเราสามารถเพิ่มการผลิตสินค้าและบริการอย่างยั่งยืน ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่เพื่อปรับปรุงผลผลิตคุณภาพหรือคุณค่าทางโภชนาการมีความสำคัญมากของการวิจัยของเราจะมุ่งไปยังการพัฒนาวิธีการใหม่และสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีคุณภาพสูงขึ้นและทางเลือกมากขึ้นของสินค้าและบริการสามารถให้บริการสำหรับความต้องการเหล่านี้

ระเบียบวิธีและความรู้ด้านทฤษฎี เป็นปัจจัยเกื้อกูลซึ่งกันและกันในการวิจัย ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็จะทำให้การวิจัยหย่อนคุณภาพ นักวิจัยที่มีแต่ทฤษฎี แต่ขาดทักษะในระเบียบวิธีก็คงไม่ต่างอะไรกับช่างไม้ที่มีแต่ความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือ ถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิดและมีวัตถุดิบดีเลิศเพียงใด ประดิษฐกรรมชั้นดีจากฝีมือของเขาก็หาเกิดขึ้นได้ไม่ โอกาสที่จะถึงจุดหมายโดยปลอดภัยย่อมยากลำบาก ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ ครอบคลุมมิติสำคัญๆ เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งหมด นับตั้งแต่เรื่องกระบวนทัศน์และทฤษฎีที่รองรับวิธีการแบบนี้ไปจนถึงการออกแบบวิจัย แนวทางการทำวิจัยเชิงคุณภาพแบบต่างๆ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย โดยรวมแล้วในตำรานี้มีทั้งส่วนที่เป็นศาสตร์ และส่วนที่เป็นศิลป์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

คุณภาพของสินค้าและการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จทางการตลาด การบริหารงานคุณภาพช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาด้านคุณภาพ ระยะเวลารอสินค้า และต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารงานที่เป็นระบบ การบริหารงานคุณภาพไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงการพัฒนาด้านเทคนิคขององค์กร แต่ยังช่วยปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้พนักงานมีเจตคติที่ดี มีความจงรักภักดีต่อองค์กร สร้างบรรยากาศการทำงานที่ราบรื่นและมีการสื่อสารที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา บางองค์กรนำการบริหารงานคุณภาพมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากร การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการสร้างความพอใจในการทำงานด้วย

ประโยชน์ของการวิจัย

1.ได้ความรู้ใหม่ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2.พิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีต่างๆ
3.ทำให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ
4.พยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่างๆได้อย่างถูกต้อง
5.แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6.ช่วยในการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
7.นำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.ปรับปรุงและพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิธีดำรงชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
9.กระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ

วิศวกรรมอาหารมีความเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยผลผลิตการเกษตร

จนได้สมญาว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก ซึ่งผลผลิตเกษตรในรูปแบบที่ยังไม่ผ่านการแปรสภาพนั้นมีมูลค่าต่ำและไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การแปรรูปผลผลิตเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดปัญหาการสูญเสีย ทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายรูปแบบ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตเกษตรได้มหาศาล อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารมีความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการอาหาร โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมเครื่องจักรกลและกระบวนการผลิตอาหาร เพื่อสามารถพัฒนาระบบการผลิตให้เหมาะกับยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ

การผลิตในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยได้มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีประสิทธิภาพการผลิต และการเพิ่มมูลคุณค่าของสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเกษตรกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้ประเทศไทยมีความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคลากรวิศวกรด้านนี้เป็นอย่างมาก เป็นสาขาที่ประยุกต์ศาสตร์ด้านวิศวกรรมมาใช้กับงานทางการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และอาหาร

ลักษณะการทำงานของวิศวกรอาหาร

คือ การวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อันได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตทางเคมี รวมถึงวิจัยและพัฒนา ค้นหาผลิตภัณฑ์อาหารและกระบวนการผลิตชนิดใหม่ คำนวณและออกแบบกรรมวิธีการผลิต เครื่องจักร และอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเคมี เพื่อใช้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ตลอดจนคำนวณและออกแบบระบบและมาตรการความปลอดภัย และการกำจัดของเสีย ทั้งในการผลิต การใช้ การเก็บ การขนส่ง/เคลื่อนย้าย และการป้องกันสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหาร

หน้าที่หลักในการปฏิบัติงาน

1.จัดหาเครื่องจักรและออกแบบสายการผลิตเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อาหารในราคาประหยัด และมีประสิทธิภาพสูง
2.ออกแบบระบบการผลิต และเครื่องจักรใหม่ๆให้มีราคาเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
3.ควบคุมดูแลบุคลากรในสายการผลิตให้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเต็มศักยภาพ
4.ดูแลควบคุมสายงานการผลิตและการบรรจุอาหาร และหรือเครื่องดื่มให้เป็นไปตามแผนการผลิตที่วางไว้
5.ให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาระหว่างการผลิต ตลอดทั้งควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์
6.วางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
7.ควบคุมดูแลป้องกันมลพิษที่เกิดจากการผลิตทั้งในและนอกโรงงาน
8.ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายและประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วิศวกรรมการผลิตพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

วิศวกรรมการผลิตเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานและสินค้าในเชิงอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและพัฒนา การทดสอบผลิต การออกแบบกรรมวิธีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ การควบคุมเครื่องจักร การควบคุมการผลิต การประกอบ การควบคุมคุณภาพ จนได้เป็นสินค้าสำเร็จ ตลอดถึงการประเมินประสิทธิภาพการผลิต สามารถประกอบวิชาชีพได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมการผลิตจะต้องเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการความรู้ของศาสตร์ทางด้านกรรมวิธีการผลิต การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ระบบควบคุมอัตโนมัติ การบริหารการผลิต และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ได้เป็นอย่างดี


กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้  ความสามารถด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต  การควบคุมการผลิต  การควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการบริหารงานอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางด้าน อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลและกระบวนการผลิตอัตโนมัติ  เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามข้อกำหนดและสามารถแข่งขันได้ใน เชิงธุรกิจ  หรืออาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรรมสมัยใหม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อรองรับการพัฒนาของระบบการผลิตทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ดังนั้นความสำคัญในการพัฒนาระบบการผลิตทางอุตสากรรมของประเทศให้ทันสมัยจึงได้ดำเนินการจัดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  โดยมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเป็นภาควิชาที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับระดับชาติ และระดับนานาชาติทางด้านการศึกษาและการวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มีปณิธานที่มุ่งมั่นให้การศึกษาและสนับสนุนการวิจัยระดับสูง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักศึกษาและสังคมอย่างมีประสิทิภาพ และมีปรัชญาของหลักสูตร คือ “การศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ

อุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ วิศวกรรมอุตสาหกรรมจึงเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรสาขานี้จึงยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของโรงงานต่างๆ และการพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต และการวิจัยและวางแผนพัฒนา เพื่อลดเวลา และต้นทุน

งานวิศวกรรมเป็นงานที่มักจะเกี่ยวข้องอยู่กับการวิจัยและพัฒนางาน

ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เติบโตเร็วตามไปด้วย สาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมศาสตร์จึงได้กลายเป็นสาขาที่มีอนาคตสดใสและดีที่สุดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางเทคโนโลยีในอนาคต

ปัจจุบันนี้ หนึ่งในสาขาที่ได้รับความนิยมที่สุด คือ วิศวกรรมนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของความรู้ในหลากหลายสาขา เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ ยารักษาโรค เป็นต้น และอีกทางหนึ่งก็มีการคาดเดาว่าความต้องการของผู้เชี่ยวชาญด้านชีวการแพทย์ (biomedical) นั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 72% ในปี 2018

งานวิศวกรรมจึงเป็นงานที่มักจะเกี่ยวข้องอยู่กับการวิจัยและพัฒนางาน โดยการประยุกต์นำเอาความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาใช้ในการวางแผน ออกแบบ จัดสร้าง ดำเนินงาน และซ่อมบำรุงรักษาผลิตภัณฑ์รวมทั้งระบบการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากขึ้นและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเป้าประสงค์ในการที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึงการทำงานที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่านั้น งานวิศวกรรมจึงจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่เสมอ

โดยทั่วไปงานทางด้านวิศวกรรมจะถูกจำแนกออกเป็นสาขาต่างๆตามลักษณะงานที่แตกต่างกันไป ที่เห็นได้อยู่ทั่วไปมักจะเป็นสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิศวกรรมเฉพาะด้านลงไปที่ก็มีให้เห็นอยู่เช่นกัน อันได้แก่ สาขาวิศวกรรมวัสดุ วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมปิโตรเลี่ยม เป็นต้น โดยส่วนใหญ่วิศวกรมักจะประกอบอาชีพอยู่ในภาคการผลิต ส่วนงานในภาคบริการและงานภาครัฐก็จะได้รับความนิยมรองๆลงมา

ในสหรัฐอเมริกาได้มีงานวิจัยหลายๆงานที่ศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของวิศวกรในการทำงาน งานวิจัยเหล่านี้ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกันประการหนึ่งเกี่ยวกับการทำงานของวิศวกรว่า วิศวกรไม่ว่าจะเป็นสาขาใดก็มักจะต้องมีบทบาทในงานด้านการจัดการอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย โดยผลการศึกษาของ The Engineering Manpower Commission แสดงออกมาว่า ร้อยละ 82 ของวิศวกรในประเทศสหรัฐอเมริกาต่างมีความรับผิดชอบในงานด้านการจัดการอยู่ด้วย ส่วนงานวิจัยโดยการสำรวจของ A Carnegie Foundation พบว่ามากกว่า ร้อยละ 60 ของผู้ที่จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์มาจะได้เลื่อนไปทำงานในตำแหน่งผู้จัดการภายใน 15 ปี และบางงานวิจัยมีการระบุว่า ร้อยละ 40 ของผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม และร้อยละ 34 ของผู้จัดการระดับสูงในประเทศสหรัฐอเมริกาต่างมีพื้นฐานในการศึกษาหรือการทำงานด้านวิศวกรรมมาก่อน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการทำงานในสายงานด้านวิศวกรรมนั้น วิศวกรจำเป็นจะต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการอยู่ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิศวกรผู้นั้นได้รับการเลื่อนขั้นพัฒนาไปสู่ระดับผู้บริหาร ทักษะที่จำเป็นด้านการจัดการจะมีส่วนในการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับการจัดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การบำบัดน้ำเสีย การควบคุมมลพิษทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นควบคู่กัน และยังช่วยดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่กับเราได้ยาวนานยิ่งขึ้น ซึ่งวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ต้องนำความรู้ทั้งทางด้านวิศวกรรมและด้านระบบสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันกระแสด้านสิ่งแวดล้อมมาแรงมาก สาขาในด้านวิศวะที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ วิศวกรรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบและควบคุมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความยากและท้าทายกว่าในอดีตที่ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นยังมีปริมาณไม่มากและไม่เป็นปัญหาสำหรับการจัดการ การศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ ก่อสร้าง ควบคุมดูแลระบบเพื่อแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง ขยะ สารพิษอันตราย รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับ ระบบประปา ระบบท่อภายในอาคาร งานสุขาภิบาล งานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

environmental-engineer

ปัจจุบันนี้กระแสในด้านสิ่งแวดล้อมมาแรงมากมาก สาขาในด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ วิศวกรรรมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบและควบคุมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดขยะ ระบบบำบัดมลพิษอากาศ ซึ่งมีความยากและท้าทายกว่าในอดีตที่ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร เนื่องจากของเสียที่เกิดขึ้นยังมีปริมาณไม่มากและไม่เป็นปัญหาสำหรับการจัดการ

นอกจากนั้นแล้ว ยังศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของ GHG (Green House Gas) ต่อชั้นบรรยากาศ แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก ศึกษาการสร้างพลังงานทางเลือกใหม่จากของเสีย หรือที่เรียกว่าก๊าซชีวภาพ (Bio gas) การจัดการของเสียอุตสาหกรรม การทำ CDM , CT พวกนี้ล้วนเป็นงานของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น นอกจากนี้สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ยังเป็น 1 ใน 7 วิชาชีพวิศวกรรม ที่ได้รับใบ กว. หรือใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งได้รับการรับรองปริญญาหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจากสภาวิศวกรด้วย โดยใบ กว. ทางด้านวิศวะ ก็คล้ายกับใบประกอบวิชาวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สถาปัตยกรรม เทคนิคการแพทย์ ฯลฯ โดยทางสภาวิศวกรจะพิจารณาออกใบ กว. ให้กับสาขาด้านวิศวกรรมที่เมื่อประกอบวิชาชีพนี้แล้วจะเสี่ยงหรือมีผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างร้ายแรง ประกอบด้วย โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เหมืองแร่ อุตสาหการ เคมี และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงคนที่จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาโดยตรงค่ะ จะทำเนียนโดยที่ไม่ได้เรียนแล้วมาทำอาชีพนี้ไม่ได้เด็ดขาดเพราะผิดกฎหมาย ฉะนั้นแล้ว ถ้ามาเรียนสาขานี้รับรองว่าจะไม่ถูกแย่งงานแน่นอนค่ะ ^ ^