ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยสินค้าและบริการเชิงคุณภาพ

ความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คือความพยายามของเราที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไม่ประนีประนอมความสามารถของคนรุ่นอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง เทคโนโลยีใหม่จะต้องให้แน่ใจว่าเราสามารถเพิ่มการผลิตสินค้าและบริการอย่างยั่งยืน ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่เพื่อปรับปรุงผลผลิตคุณภาพหรือคุณค่าทางโภชนาการมีความสำคัญมากของการวิจัยของเราจะมุ่งไปยังการพัฒนาวิธีการใหม่และสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคที่มีคุณภาพสูงขึ้นและทางเลือกมากขึ้นของสินค้าและบริการสามารถให้บริการสำหรับความต้องการเหล่านี้

ระเบียบวิธีและความรู้ด้านทฤษฎี เป็นปัจจัยเกื้อกูลซึ่งกันและกันในการวิจัย ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็จะทำให้การวิจัยหย่อนคุณภาพ นักวิจัยที่มีแต่ทฤษฎี แต่ขาดทักษะในระเบียบวิธีก็คงไม่ต่างอะไรกับช่างไม้ที่มีแต่ความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดทักษะในการใช้เครื่องมือ ถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิดและมีวัตถุดิบดีเลิศเพียงใด ประดิษฐกรรมชั้นดีจากฝีมือของเขาก็หาเกิดขึ้นได้ไม่ โอกาสที่จะถึงจุดหมายโดยปลอดภัยย่อมยากลำบาก ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ ครอบคลุมมิติสำคัญๆ เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งหมด นับตั้งแต่เรื่องกระบวนทัศน์และทฤษฎีที่รองรับวิธีการแบบนี้ไปจนถึงการออกแบบวิจัย แนวทางการทำวิจัยเชิงคุณภาพแบบต่างๆ วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย โดยรวมแล้วในตำรานี้มีทั้งส่วนที่เป็นศาสตร์ และส่วนที่เป็นศิลป์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

คุณภาพของสินค้าและการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จทางการตลาด การบริหารงานคุณภาพช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาด้านคุณภาพ ระยะเวลารอสินค้า และต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารงานที่เป็นระบบ การบริหารงานคุณภาพไม่ได้มีประโยชน์แต่เพียงการพัฒนาด้านเทคนิคขององค์กร แต่ยังช่วยปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้พนักงานมีเจตคติที่ดี มีความจงรักภักดีต่อองค์กร สร้างบรรยากาศการทำงานที่ราบรื่นและมีการสื่อสารที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา บางองค์กรนำการบริหารงานคุณภาพมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาบุคลากร การมีส่วนร่วมของพนักงาน และการสร้างความพอใจในการทำงานด้วย

ประโยชน์ของการวิจัย

1.ได้ความรู้ใหม่ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ
2.พิสูจน์หรือตรวจสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีต่างๆ
3.ทำให้เข้าใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ
4.พยากรณ์ผลภายหน้าของสถานการณ์ ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่างๆได้อย่างถูกต้อง
5.แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6.ช่วยในการวินิจฉัย ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
7.นำมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.ปรับปรุงและพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และวิธีดำรงชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
9.กระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ